ความรู้เรื่อง การจำนองคืออะไร สัญญาแบบไหน
หลายคนอาจได้ยินคำว่า ‘จำนองบ้าน’ หรือ ‘จำนองที่ดิน’ แต่อาจไม่แน่ใจว่าการจำนองคืออะไร ที่จริงแล้วการจำนองคือ การที่บุคคลหนึ่ง เรียกว่า "ผู้จำนอง" เอาอสังหาริมทรัพย์ของตนเช่นที่ดิน หรือ ทรัพย์ทื่กฏหมายอนุญาตให้จำนองไปจดทะเบียนไว้กับอีกบุคคลหนึ่ง เรียกว่า "ผู้รับจำนอง" เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ ทั้งนี้โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบ ที่ดิน หรือทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้รับจำนอง
ส่วนสัญญาจำนอง คือ สัญญาเงินกู้ในรูปแบบหนึ่ง ที่มีการนำเอาอสังหาริมทรัพย์มาใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ ไม่ว่าจะเป็น โฉนดที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม โรงงาน โกดัง โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ เป็นต้น เนื่องจากอสังหาริมทรัพย์เป็นทรัพย์สินที่มีคุณภาพ ไม่เคยเสื่อมค่าตามกาลเวลา และไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ทำให้อสังหาริมทรัพย์ จึงเป็นหลักประกันที่มั่นคงนั่นเอง
นอกจากนั้นผู้ที่จะสามารถนำทรัพย์สินมาทำสัญญาจำนองได้ จะต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ใช้ในการจำนองเท่านั้น และหากไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน ก็จะต้องได้รับมอบอำนาจมาจากเจ้าของทรัพย์สินโดยตรง หากไม่ใช่ทั้งสองอย่างนี้ สัญญาจำนองก็จะไม่มีผลทันที อีกทั้งการทำสัญญาการจำนอง จะต้องทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น ดังนั้นขอให้มั่นใจได้เลยว่าการปลอมแปลงเอกสารเพื่อทำสัญญาการจำนองนั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่าย ๆ เลย
ทรัพย์สินที่ทำสัญญาจำนองได้มีอะไรบ้าง?
นอกจากทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ที่สามารถนำมาเป็นหลักประกันการชำระหนี้ได้แล้ว ยังมีทรัพย์อีกประเภทที่สามารถนำมาใช้ในการทำสัญญาจำนองได้ นั่นก็คือ เรือกำปั่น เรือกลไฟ เรือแพที่อยู่อาศัย หรือสัตว์ที่เป็นพาหนะ แต่จะต้องเป็นทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนขึ้นถูกต้องตามกฎหมายแล้วเท่านั้น
ก่อนทำสัญญาการจำนองที่ดิน การจำนองบ้าน มีเรื่องอะไรที่ต้องรู้บ้าง?
- การทำสัญญาจำนอง เป็นการนำหลักทรัพย์ไปค้ำประกันการชำระหนี้เท่านั้น ซึ่งหมายความว่า จะเป็นแค่การนำโฉนดที่ดินที่จะใช้ในการจำนอง ไปจดทะเบียนต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน เพื่อให้ไว้เป็นหลักประกัน จะไม่มีการโอนทรัพย์สินอะไรเด็ดขาด
- รายละเอียดในใบสัญญาจำนอง จะต้องระบุชัดเจนว่า ผู้จำนอง (ผู้ขอกู้เงิน) จะทำการกู้เงินจาก ผู้รับจำนอง (ผู้ให้กู้) เป็นจำนวนเงินเท่าไร รวมถึงรายละเอียดของหลักทรัพย์ที่นำมาใช้ในการจำนองว่าคืออะไร ถ้าหากไม่ระบุตามนี้ สัญญาการจำนองจะไม่สมบูรณ์เลยทันที
- ในกรณีที่ ผู้จำนอง (ผู้ที่ขอกู้) ไม่สามารถชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ได้หรือมีการผิดสัญญาชำระหนี้ ไม่ได้หมายความว่า ผู้รับจำนอง (ผู้ให้กู้) จะเข้าไปยึดทรัพย์ที่ใช้ในกรค้ำประกันได้เลยทันที แต่จะต้องมีการดำเนินการตามกฎหมาย ตั้งแต่การฟ้องร้องยื่นเรื่องกับศาล เพื่อให้ศาลออกคำสังบังคบให้ลูกหนี้นำหลักทรัพย์ไปขายทอดตลาดที่กรมบังคับคดี จากนั้นค่อยนำเงินมาชำระหนี้อีกที
หนังสือสัญญาการจำนองที่ดิน การจำนองบ้าน ควรมีรายละเอียดอะไรบ้าง
- รายละเอียดทรัพย์ ต้องมีการระบุรายละเอียดทรัพย์ที่นำมาจำนองอย่างชัดเจน เช่น หากเป็นหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน จะต้องมี เลขที่โฉนด เลขที่ดิน หน้าสำรวจ ตำบล อำเภอ และจังหวัดที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่
- รายละเอียดวันที่ทำสัญญา ต้องมีการระบุว่า หนังสือสัญญานี้ได้ทำเมื่อวันที่เท่าไร เดือนอะไร ปีอะไร และทำสัญญาที่ไหน โดยส่วนใหญ่สถานที่มักเป็นสำนักงานที่ดินจังหวัด
- ระบุชื่อผู้ทำสัญญาในส่วนของผู้จำนองและผู้รับจำนอง ต้องมีการระบุชื่อ เลขประจำตัวประชาชน อายุ สัญชาติ ชื่อของบิดามารดา บ้านเลขที่ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ ของทั้งสองฝ่ายอย่างชัดเจน
-
รายละเอียดข้อตกลงในสัญญา สำหรับในเรื่องข้อตกลง จะต้องระบุว่าจำนวนเงินที่ทำการกู้ครั้งนี้ เป็นจำนวนเงินเท่าไร มีการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเท่าไร กำหนดเวลาจ่ายหนี้เมื่อไร และระบุจำนวนครั้งที่จะจ่ายดอกเบี้ยหากมีการผิดชำระหนี้ให้ชัดเจน
- ชื่อผู้ถือโฉนดที่ดินระหว่างการจำนอง เป็นเหมือนพยานผู้รับฝากทรัพย์ที่เป็นหลักประกันเอาไว้ โดยในสัญญาจะถูกทำ 3 ฉบับ เพื่อให้ ผู้จำนอง ผู้รับจำนอง และพยานผู้ถือหลักทรัพย์ เก็บเอาไว้คนละหนึ่งฉบับ โดยในแต่ละฉบับจะต้องเขียนกำชับไว้ด้วยว่า ฉบับนี้ให้ใครเป็นผู้ถือ
- การเซ็นสัญญา ในท้ายสุดของสัญญาจำนองจะเป็นการเซ็นสัญญา โดยผู้ที่เซ็นสัญญาจำนองจะต้องประกอบด้วย ผู้จำนอง ผู้รับจำนอง, พยาน 2 คน (ฝ่ายละคน), เจ้าพนักงานที่ดิน, ผู้เขียนสัญญา และผู้ตรวจสัญญา เป็นอันสำเร็จ
ตัวอย่างสัญญาจำนอง